ประกันบำนาญตัวช่วยดีๆ ที่ทำให้เราลดหย่อนภาษีได้ถึง 300,000 บาท
เมื่อพูดถึงประกันลดหย่อนภาษี เราจะคุ้นเคยแต่เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป 100,000 บาทแรก เมื่อใช้เต็มสิทธิแล้วก็ไม่ค่อยได้สนใจสิทธิลดหย่อนภาษีอีก 200,000 บาทหลัง ทั้งที่ความจริงแล้ว ยังมีประกันบำนาญเราที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีให้ครบถ้วนอย่างเต็มที่ 300,000 บาท เพื่อไม่ให้พลาดข้อมูลสำคัญ เรามาดูกันว่า ประกันชีวิตแบบบำนาญมีเงื่อนไขลดหย่อนภาษียังไงบ้าง

ประกันชีวิตแบบบำนาญคืออะไร เงื่อนไขการลดหย่อนมีอะไรบ้าง?
ประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นแบบประกันที่คล้ายกับแบบสะสมทรัพย์ คือ “เน้นผลตอบแทนมากกว่าความคุ้มครองชีวิต” สิ่งที่แตกต่างกันคือเรื่องของ “เงินคืน” ประกันสะสมทรัพย์จะทยอยจ่ายเงินคืนให้ในระหว่างสัญญา ส่วนประกันชีวิตแบบบำนาญ จะไม่มีเงินคืนให้ในช่วงที่จ่ายเบี้ย แต่จะจ่ายเป็น “เงินบำนาญ” ทุกปี หรือทุกเดือน เมื่อเริ่มถึงวัยเกษียณ (อายุ 55 ปีเป็นต้นไป) จนถึงอายุสุดท้ายที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์
เงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
หักลดหย่อนภาษีได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ต้องเป็นประกันชีวิตแบบ “บำนาญแบบลดหย่อนได้” ที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
ต้องเริ่มจ่ายเงินบำนาญเมื่อเมื่ออายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป จนถึงอายุ 85 ปี (หรือมากกว่า)
ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใดก่อนรับเงินบำนาญ ยกเว้นผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต
ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นก่อนรับเงินบำนาญ
การจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญในช่วงรับบำนาญต้องกำหนดจ่ายผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เช่น รายปี รายเดือน
ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น
ข้อควรระวัง ! ค่าลดหย่อนประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อนำมารวมกับค่าลดหย่อนอื่นๆ ดังนี้
-เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
-เงินสะสมเข้ากองทุน กบข.
-เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
-กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
-กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
-เงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ
รวมกันแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถทำได้ 3 วิธีค่ะ

แบบที่ 1 : ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 200,000 บาทหลัง คู่กับสิทธิลดหย่อนภาษี 100,000 บาทแรก
หากเรามีค่าลดหย่อนจากเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป และประกันสุขภาพรวมกันครบ 100,000 บาทแล้ว เราสามารถใช้ประกันบำนาญมาลดหย่อนภาษีได้อีก 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ในปีภาษีนั้นๆ ค่ะ

แบบที่ 2 : หากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป สามารถใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้สูงสุด 300,000 บาท
สำหรับคนที่ยังไม่มีประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ แต่สนใจอยากซื้อแบบประกันชีวิตแบบบำนาญ เราสามารถนำเบี้ยแบบบำนาญไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท นั่นคือใช้สิทธิลดหย่อนภาษีทั้งในส่วนของ 100,000 บาทแรก และ 200,000 บาทหลัง สามารถทำได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขของสรรพากรค่ะ

แบบที่ 3 : ใช้สิทธิลดหย่อนทั้งในส่วนของ 100,000 บาทแรก และสิทธิลดหย่อน 200,000 บาทหลัง
ถ้าเรามีประกันชีวิตแบบทั่วไปและประกันสุขภาพแล้ว แต่ยังไม่ครบ 100,000 บาทแรก เราสามารถนำเบี้ยประกันบำนาญเติมเข้าไปในส่วนที่ขาดนี้ได้ และยังสามารถเพิ่มในส่วนของ 200,000 บาทหลังเต็มจำนวนได้อีกเช่นกัน แบบนี้ก็สามารถทำได้ไม่ผิดเงื่อนไขของสรรพากรค่ะ
ประกันแบบบำนาญที่น่าสนใจ
1.แบบจ่ายเบี้ยสั้น 5 ปี รับเงินบำนาญจนถึงอายุ 85 ปี

2.แบบจ่ายเบี้ยยาวจนถึง 60 รับเงินบำนาญยาวกว่าจนถึงอายุ 99 ปี

การวางแผนภาษี สามารถทำได้ตั้งแต่ต้นปี โดยการคำนวณรายได้คร่าวๆ ของเราเอาไว้ สำหรับคนที่มีรายได้ประจำเราจะสามารถคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีนั้นๆ ได้ และควรเริ่มวางแผนเรื่องค่าลดหย่อนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ข้อดีของการวางแผนเร็วก็คือ เราสามารถที่จะทยอยซื้อค่าลดหย่อนเป็นรายเดือนได้ ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ในช่วงปลายปี เป็นการทยอยการลงทุนไปในสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษี หรือประกันชีวิต แต่หากใครที่กำลังวางแผนอยู่ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการวางแผนภาษี Fin-around มีที่ปรึกษาการเงินและนักวางแผนการเงินคอยให้คำแนะนำเรื่องการลดหย่อนภาษีอยู่นะคะ เราบริการวางแผนเบื้องต้นให้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หากสนใจรีบนัดเวลากับนักวางแผนการเงินได้วันนี้
เริ่มต้นวางแผนค่าลดหย่อนภาษี กับนักวางแผนการเงิน คุณจะได้เครื่องมือและผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ กองทุนรวม SSF และ RMF
บริการวางแผนภาษีของเราสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินของคุณในทุกช่วงชีวิต โดยผ่านการวิเคราะห์ และแนะนำจากทีมงาน Fin-around
จิรพัชร์ เจริญวงษ์พิบูล
นักวางแผนการเงิน AFPT
ที่ปรึกษาประกันชีวิตและการลงทุน
Contact: 063-564-5461
Line: @fin-around